วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556

โครงงานคอมพิวเตอร์




โครงงานคอมพิวเตอร์
ประเภทการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

              (ชื่อโครงงาน การแต่งภาพ จาก Photoscap ง่าย ๆ ให้ภาพสวย )


คณะผู้จัดทำ

1.       ชื่อ  ณัฐกิตติ์ นามสกุล วรสิทธิ์ธำรงค์ ชั้น ม 3 ห้อง 1 เลขที่  44



ครูที่ปรึกษาโครงงาน
นางสุวีรา   สุดาเดช




โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ง 23242  เทคโนโลยีสารสนเทศ 6
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
โรงเรียนอำนาจเจริญ  อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ




โครงงานคอมพิวเตอร์

1.                            ชื่อโครงงาน การแต่งภาพ จาก Photoscap ง่ายๆ ให้ภาพสวย

2.              ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
(1)     ชื่อ    ณัฐกิตติ์ วรสิทธิ์ธำรงค์  ห้อง 3/1 เลขที่ 44

 3.              อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
นางสุวีรา   สุดาเดช
4.              ระยะเวลาดำเนินงาน
      2-3 วัน
5.              แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
ต้องการให้งานชิ้น สามารถนำไปใช้ในการ ทำงานและหาเลี้ยงตัวเองได้
6.              วัตถุประสงค์
ต้องการให้งานชิ้น สามารถนำไปใช้ในการ ทำงานและหาเลี้ยงตัวเองได้

7.              หลักการและทฤษฎี
 คือ การนำภาพที่เราไม่ชอบเลยเพราะว่าไม่สวยมากนัก ภาพถ่ายออกมาเราอาจดำ มาทำให้เราขาวขึ้นได้ และ
พึ่งพอใจ

8.              วิธีดำเนินงาน
 ดำเนินการผ่านโปรแกรม ที่มีอยู่ที่คอมพิวเคอร์ ในบ้านของ กระผม
9.              ขั้นตอนการปฏิบัติ
       1. เข้าไปที่โปรแกรม Photoscap
       2. เลือกภาพที่เราต้องการจะแต่ง
            3. เมื่อได้ภาพแล้วให้ไปเลือกที่ แสง และปรับตามต้องการ
            4. ก็จะได้ภาพที่งดงาม และสว่างตาดูขาวขึ้น
10.       ผลที่คาดว่าจะได้รับ
          จะมีคนที่สนใจนำไปใช้ ในการแต่งภาพของตนเองได้ง่าย ๆ และเอาไปต่อยอด จากเดิม

11.       เอกสารอ้างอิง

http://www.enjoylike.com/forum/forumdisplay.php?fid=14

วิดีโอ5 วิดีโอ Camtasia


วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประวัติส่วนตัว


ชื่อ เด็กชายณัฐกิตติ์  วรสิทธิ์ธำรงค์   ชื่อเล่น  โอปอ
วัน/เดือน/ปี  เกิด15/03/2541
สีที่ชอบ :  สีแดง 
กีฬาที่ชอบ :  บาสเก็ตบอล
อาหารที่ชอบ : ข้าวผัด

บัตรเชิญ


วันแม่แห่งชาติ


     เมื่อเกิดมาบนโลกใบ นี้จนเริ่มจำความได้จวบจนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี ความทรงจำเก่าๆ ที่ไม่เคยจะเลือนหายไป แม้กระทั่งปัจจุบันความรู้สึกนั้นยังคงหอมกรุ่นอยู่ในหัวใจ เหมือนดอกมะลิที่บานตลอดเวลา ไม่มีวันที่จะเฉาหรือสูญสลายไปกับกาลเวลา คล้ายน้ำชุ่มฉ่ำคลายร้อนเมื่อยามกระหาย ความรู้สึกนั้นมันช่างเป็นอะไรที่พิเศษเกินคำบรรยาย แต่น้ำใดเล่าจะหอมหวานชุ่มฉ่ำอบอุ่นในจิตใจได้เท่ากับน้ำนมที่กลั่นด้วยใจ ของแม่ที่ลูกนี้ได้ดื่มกินจนเติบใหญ่ อ้อมกอดที่ถนุถนอมสายใยรักที่เชื่อมโยงระหว่างกันและกัน บอกถึงความรักอันสูงสุดที่ใครจะได้รับ จวบจนก้าวแรกแห่งชีวิตด้วยแรงแห่งน้ำนมอันบริสุทธิ์ สองเท้าเล็กๆก้าวย่างอย่างไม่มั่นใจล้มลุกคลุกคลานตลอดทางช่างยากลำบากยิ่ง นัก ไม่นานสองมือที่อบอุ่นประคับประคองร่างกายที่บอบบางให้ลุกขึ้นยืนอีกครั้ง แล้วก้าวสำคัญก็ผ่านพ้นไปด้วยดี เหนื่อยเหลือเกิน ยามหลับใหลน้ำนมที่ดื่มกิน สองมือโบกพัดเอาความเย็นให้คลายร้อนตลอดเวลา ยอมอดหลับอดนอน คอยปกป้องคุ้มครองไม่ให้โดนทำร้ายจากสิ่งใด จนกระทั่งเด็กน้อยเติบใหญ่ซุกซนตลอดเวลา ผีเสื้อโบกโบยบินไปตามทุ่งหญ้า ท้องนาอันกว้างใหญ่ หิ้งห้อยกลางคืนส่องแสงรำไร สองปากพร่ำเตือนสอนสั่งให้ระวังอันตราย ยกกิ่งไม้เล็กๆคอยไล่ให้กลับบ้าน หิวเหลือเกิน ข้าวร้อนๆ น้ำพริกหอมกรุ่น ฟักแฟงแตงกวาเต็มจานน่ากินจนอิ่มท้อง แม่จ๋าเหนื่อยไหม หยาดเหงื่อที่ไหลตามหน้าพลันตกลงพื้น แต่รอยยิ้มก็ยังไม่หายไปจากใบหน้าที่งดงามในสายตาของลูกคนนี้ กาลเวลาผ่านไปช่างรวดเร็วเหลือเกิน จนวันนี้ดูเหมือนอะไรๆจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ร่างกายที่แข็งแรง เนื้อหนังที่เปล่งปลั่ง เริ่มเหี่ยวย่น เริ่มอ่อนแรงลงไปทุกที แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่และไม่เคยเปลี่ยนแปลงได้เลย คือ ความห่วงใยที่มีให้ต่อกันเสมอ เหมือนเป็นโซ่แห่งความผูกผันคล้องใจทั้งสองดวงไว้ให้เป็นดวงเดียว ถึงเวลาแล้วหนอที่ลูกต้องออกไปเผชิญโลกภายนอกทำงานหาเลี้ยงตัวเอง คำบอกกล่าว ดูแลตัวเองให้ดีนะลูก ยังคงวนเวียนอยู่ในใจของลูกเสมอ ลูกไม่เคยลืมคำที่พร่ำสอนสั่งที่แม่บอกไว้ เหนื่อยกายเหนื่อยใจเมื่อยล้าสักเพียงใด ขอดูรูปของแม่ก็พอมีแรงสู้ต่อไปในวันข้างหน้า แม้อนาคตยังไม่รู้เป็นเช่นไร ก้าวสำคัญและก้าวแรกที่แม่มอบให้นั้น จะคอยเป็นพลังให้ลูกก้าวต่อไปในอนาคต หยดหนึ่งน้ำนมขาวบริสุทธิ์ที่แม่กลั่นออกมาจากใจที่อยู่ในเลือดของลูกมิเคย เจือจางสูญสลายไปแต่อย่างใด แต่มันยังคงหมุนเวียนภายในร่างกายของลูกอยู่เสมอ คอยเป็นสิ่งเตือนใจในพระคุณที่ล้นเหลือ ที่ทำให้รู้สึกอบอุ่นยามที่ได้คิดถึงจนถึงทุกวันนี้

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา



วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดช่วงฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น

          "
เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม ค่ำ เดือน 8ของทุกปี เรียกว่า "ปุริมพรรษา"

          
ถ้าปีใดมีเดือน สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11เรียกว่า "ปัจฉิมพรรษา" เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด

          
สำหรับข้อยกเว้นให้ภิกษุจำพรรษาที่อื่นได้ โดยไม่ถือเป็นการขาดพรรษา เว้นแต่เกิน วัน ได้แก่

          1.
การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย
          2.
การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้
          3.
การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด
          4.
หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขาได้


          
นอกจากนี้หากระหว่างเดินทางตรงกับวันหยุดเข้าพรรษาพอดี พระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่า ที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้ง ถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีก เพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้

          
ทั้งนี้ โดยปกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขาร อันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษา นับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา...
วันหยุดเข้าพรรษาพอดี พระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่า ที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้ง ถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีก เพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้